Troy From Wikipedia, the free encyclopedia
Create and Rewrite by Kulachatr Chatrakul Na Ayudhya

Archaeological Site of  Troy
UNESCO World Heritage Site

Ancient Map of  Troy  

Trojan Horse Model at Çanakkale

Hissarlik / Dardanelles

Troy (Greek: Τρο?α, Troia, also ?λιον, Ilion; Latin: Tr?ia, ?lium,[1]; Hittite: Wilusa or Truwisa) is a legendary city and center of the Trojan War, as described in the Epic Cycle, and especially in the Iliad, one of the two epic poems attributed to Homer. Trojan refers to the inhabitants and culture of Troy.

Today it is the name of an archaeological site, the traditional location of Homeric Troy, Turkish Truva, in Hisarl?k in Anatolia, close to the seacoast in what is now Çanakkale province in northwest Turkey, southwest of the Dardanelles under Mount Ida.

A new city of Ilium was founded on the site in the reign of the Roman Emperor Augustus. It flourished until the establishment of Constantinople and declined gradually during the Byzantine era.

In the 1870s a wealthy German business man Heinrich Schliemann excavated the area. Later excavations revealed several cities built in succession to each other. One of the earlier cities (Troy VII) is often identified with Homeric Troy. While such an identity is disputed, the site has been successfully identified with the city called Wilusa in Hittite texts; Ilion (which goes back to earlier Wilion with a digamma) is thought to be the Greek rendition of that name.

The archaeological site of  Troy was added to the UNESCO World Heritage list in 1998.

สงครามเมืองทรอย (อังกฤษ: Trojan War) เป็นสงครามที่สำคัญตำนานของกรีก โดยเกิดขึ้นที่เมืองทรอย ซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียน้อย หรือบริเวณประเทศตุรกีในปัจจุบัน และเป็นสงครามระหว่างกองทัพของชาวกรีกและเมืองทรอย หลังจากที่ปารีสแห่งทรอยได้ลักพาตัวเฮเลนซึ่งเป็นภรรยาของเมนนิลิอัส กษัตริย์ของสปาร์ตาในขณะนั้น สงครามเมืองทรอยถูกเล่าผ่านงานเขียนที่สำคัญสองเรื่องของกรีก คืออีเลียดและโอดิสซีย์ โดยอีเลียดเล่าเรื่องราวตั้งแต่ปีที่สิบ จนถึงสิ้นสุดสงคราม ส่วนโอดิสซีย์เล่าเรื่องราวหลังจากสงครามจบสิ้น

หลังจากสู้รบกันเป็นเวลาสิบปี กองทัพกรีกก็ได้คิดแผนการที่จะตีกรุงทรอย โดยการสร้างม้าไม้จำลองขนาดยักษ์ ที่เรียกว่าม้าโทรจัน โดยทหารกรีกได้เข้าไปซ่อนตัวอยู่ในม้าโทรจัน แล้วก็ทำการเข็นไปไว้หน้ากรุงทรอย เหมือนเป็นของขวัญและสัญลักษณ์ว่าชาวกรีกยอมแพ้สงคราม และได้ถอยทัพออกห่างจากเมืองทรอย ชาวทรอยเมื่อเห็นม้าโทรจัน ก็ต่างยินดีว่ากองทัพกรีกได้ถอยทัพไปแล้ว ก็ทำการเข็นม้าโทรจันเข้ามาในเมือง แล้วทำการเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่ เมื่อชาวทรอยนอนหลับกันหมด ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ ก็ออกมาจากม้าโทรจัน แล้วทำการเปิดประตูเมืองให้กองทัพกรีกเข้ามาในเมือง แล้วก็สามารถยึดเมืองทรอยได้ ก่อนที่จะทำการเผาเมืองทรอยทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เหล่าเทพไม่พอใจ และทำการกลั่นแกล้งไม่ให้ชาวกรีกได้กลับบ้านเมืองอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เล่าอยู่ในโอดิสซีย์

 

ทรอย-Troy ปรากฏอยู่ในมหากาพย์ อีเลียด-Iliad ของ โฮเมอร์-Homer กวีกรีกตาบอด

(ประมาณ 900 ปีก่อนคริสตกาล) แต่ผู้คนยุคนั้นเชื่อว่าทรอยเป็นนครในจินตนาการ เรื่องทรอยเป็นนิทาน เพราะแม้แต่นักประวัติศาสตร์เอก เฮโรโดตัส-Herodotus ก็หาร่องทรอยรอยไม่พบ
แต่นักโบราณคดีเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์ เชื่อว่าทรอยเคยมีอยู่จริง เขาหันเข็มทิศไปตามคำบอกเล่าของโฮเมอร์ว่าทรอยตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล เมื่อเดินทางถึงตุรกี และได้เห็นเนินดินในบริเวณหมู่บ้าน Hissarlik บริเวณช่องแคบดาร์ดาแนลส์ (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ คนละฝั่งทะเลเอเจี้ยนกับกรีซ) ยอดของเนินดินถูกตัดเป็นแนวราบดูประหลาด เขาจ้างคนงานนับร้อยตะลุยขุด และเมื่อลงลึก 10 เมตร ที่ปรากฏคือซากกําแพงเมือง ทั้งยังพบทองคําและอัญมณีมากมาย  ชื่อชไลมันน์ได้รับการยอมรับให้ปรากฏในฐานะผู้ค้นพบกรุงทรอย และผู้พิสูจน์ว่าโฮเมอร์รจนามหากาพย์ขึ้นบนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสงครามทรอยเป็นเรื่องจริง แต่ในเดือนตุลาคม 1998 หนังสือ Finding the Walls of Troy โดย S. Heuck เผยว่าผู้สมควรจะได้รับการจารึกนามว่าเป็นผู้รู้ตําแหน่งของทรอยอย่างแท้จริง เพียงแต่ไม่ได้ขุดพบคือ Frank Calvert ชาวอังกฤษผู้มีบิดาเป็นกงสุลประจําตุรกี

การขุดค้นครั้งต่อๆ มา ได้พบกำแพงเมืองดินเหนียวหนาราว 5 เมตร ห่างจากกําแพงเดิมไป 400 เมตร ที่ระดับลึก 6 เมตร ทำให้รู้ว่าชาวเมืองซ่อมและเสริมกําแพงเมืองนี้หลายครั้ง ซากปรักหักพังของที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ต่างๆ ก็บอกว่าแถบนั้นเคยเป็นชุมชนของมนุษย์ยุคสำริด พบหลักฐานด้วยว่าทรอยเคยถูกไฟเผาและอาจถูกทําลายด้วยภัยแผ่นดินไหวซึ่งชักนําให้โรมันเข้าบูรณะเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง

อีเลียดเล่าตำนานสงครามกรุงทรอยว่า เจ้าชายปารีสแห่งทรอยลักพาตัวเฮเลนมเหสีโฉมงามของเมเนเลอุสผู้ครองกรุงสปาร์ตามาไว้ที่ทรอย ศึกชิงนางจึงอุบัติ บ้านพี่เมืองน้องซึ่งล้วนเป็นประเทศราชของกรีซ รวมถึงทัพหลวงจากกรีซเข้าช่วยสปาร์ตารบ มีแม่ทัพเด่นๆ คือ อคิลลิส อกาเมมน่อน เมเนลอส

แต่ทัพเรือกรีกไม่สามารถตีกำแพงเมืองเข้าไปคว้าชัยเหนือทรอยที่มีเจ้าชายเฮกเตอร์เป็นแม่ทัพได้ สงครามยืดเยื้อ 10 ปี กรีซจึงคิดอุบายสร้างม้าไม้ตัวมหึมาขึ้นแล้วซ่อนทัพทหารไว้ภายใน ชักม้าไม้มาไว้หน้ากำแพงเมือง จากนั้นทำทีถอนทัพกลับไป ฝ่ายทรอยหลงกลคิดว่าศัตรูทิ้งม้าไม้ไว้เป็นของกํานัล จึงชักลากเข้าเมือง ในความมืดสนิทของคืนนั้นเอง ทหารในม้าไม้ลอบออกมาเปิดประตูเมืองให้ทัพกรีกกรีธาเข้ายึดทรอยได้โดยง่าย

มหากาพย์อีเลียด มีพากย์ไทย 2 สำนวน นายตำรา  เมืองใต้ แปลและเรียบเรียงจากฉบับเล่าความของ อัลเฟรด เจ. เชิร์ช ตีพิมพ์ครั้งแรกพ.ศ.2536 ในชื่อ อีเลียด พิมพ์ครั้งล่าสุดมีนาคม 2547 โดยสำนักพิมพ์น้ำฝน เลขที่ 300/203 พหลโยธิน 50 สายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทร.0-2970-3684 และ 0-2970-4684 อี-เมล์ : info@numfon.com
อีกเล่มชื่อ อีเลียด เช่นกัน ดร.ปราณี ศิริจันทพันธุ์ และส่งศรี ศรีจันทราพันธุ์ แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส (ซึ่งเป็นอีเลียดฉบับเยาวชน) ของ Leconte de Lisle จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง เลขที่ 78 ซอยปิ่นนคร 4 ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10220 โทร.0-2880-7390

The archaeological site of  Troy was added to the UNESCO World Heritage list in 1998.

Locate at Çanakkale province in northwest Turkey, southwest of the Dardanelles under Mount Ida